messager
อำนาจหน้าที่
อำนาจหน้าที่ขององค์กรบริหารส่วนตำบล โครงสร้างรวมและอำนาจหน้าที่ของ อบต. ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 7 พ.ศ.2562 องค์การบริหารส่วนตำบล สภาตําบลที่มีรายได้โดยไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ล่วงมาติดต่อกัน สามปีเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า ปีละหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท หรือตามเกณฑ์รายได้เฉลี่ยในวรรคสองอาจจัดตั้งเป็น องค์การบริหารส่วนตําบลได้ โดยทําเป็นประกาศของกระทรวงมหาดไทยและให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ในประกาศนั้นให้ระบุชื่อ และเขตขององค์การบริหารส่วนตําบลไว้ด้วย การเปลี่ยนแปลงเกณฑ์รายได้เฉลี่ยของสภาตําบลให้ทําเป็นประกาศของ กระทรวงมหาดไทย และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา (มาตรา 40) สภาองค์การบริหารส่วนตำบล สภาองค์การบริหารส่วนตําบลประกอบด้วยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตําบลจํานวนหมู่บ้านละ 2 คน ซึ่งเลือกตั้งขึ้นโดยราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในแต่ละหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตําบลนั้น ในกรณีที่ เขตองค์การบริหารส่วนตําบลใดมีเพียงหนึ่งหมู่บ้านให้สภาองค์การบริหารส่วนตําบลนั้นประกอบด้วยสมาชิกสภา องค์การบริหารส่วนตําบลจํานวน 6 คน และในกรณีที่เขตองค์การบริหารส่วนตําบลใดมีเพียงสองหมู่บ้านให้สภาองค์การบริหารส่วนตําบลนั้นประกอบด้วยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตําบลจํานวนหมู่บ้านละ 3 คน หลักเกณฑ์และวิธีการสมัครรับเลือกตั้งและการเลือกตั้งให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น อายุของสภาองค์การบริหารส่วนตําบลมีกําหนดคราวละ 4 ปีนับแต่ วันเลือกตั้ง (มาตรา 45) อำนาจหน้าที่ของสภาองค์การบริหารส่วนตำบล 1. เลือกประธานสภา รองประธานสภา (มาตรา 48) และ เลขานุการสภา อบต. (มาตรา 57) 2. รับทราบนโยบายของนายก อบต. ก่อนนายกอบต. เข้ารับหน้าที่และรับทราบรายงานแสดงผลการปฏิบัติงานตามนโยบายที่นายก อบต. ได้แถลงไว้ต่อสภา อบต. เป็นประจำทุกปี (มาตรา 58/5) 3. มีอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 46 ดังนี้ (1) ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตําบลเพื่อเป็นแนวทางในการบริหาร กิจการขององค์การบริหารส่วนตําบล (2) พิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตําบล ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปี และร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม (3) ควบคุมการปฏิบัติงานของนายกองค์การบริหารส่วนตําบลให้เป็นไปตามกฏหมาย นโยบาย แผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตําบล ข้อบัญญัติ ระเบียบ และข้อบังคับของทางราชการ นายกองค์การบริการส่วนตำบล ให้องค์การบริหารส่วนตําบลมีนายกองค์การบริหารส่วนตําบลคนหนึ่งซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น อำนาจหน้าที่ของนายก อบต. ก่อนนายกองค์การบริหารส่วนตําบลเข้ารับหน้าที่ ให้ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตําบล เรียกประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตําบลเพื่อให้นายกองค์การบริหารส่วนตําบลแถลง นโยบายต่อสภา องค์การบริหารส่วนตําบลโดยไม่มีการลงมติทั้งนี้ภายในสามสิบวันนับแต่วันประกาศผล การเลือกตั้งนายก องค์การบริหารส่วนตําบล (มาตรา 58/5) นายกองค์การบริหารส่วนตําบลมีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้(มาตรา 59) (๑) กําหนดนโยบายโดยไม่ขัดต่อกฎหมายและรับผิดชอบในการบริหารราชการของ องค์การบริหารส่วนตําบล ให้เป็นไปตามกฎหมาย นโยบาย แผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตําบล ข้อบัญญัติ ระเบียบ และข้อบังคับของ ทางราชการ (๒) สั่ง อนุญาต และอนุมัติเกี่ยวกับราชการขององค์การบริหารส่วนตําบล (๓) แต่งตั้งและถอดถอนรองนายกองค์การบริหารส่วนตําบลและเลขานุการนายกองค์การ บริหารส่วนตําบล (๔) วางระเบียบเพื่อให้งานขององค์การบริหารส่วนตําบลเป็นไปด้วยความเรียบร้อย (๕) รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตําบล (๖) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่น (7) ก่อนนายกองค์การบริหารส่วนตําบลเข้ารับหน้าที่ ให้ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตําบลเรียกประชุมสภา องค์การบริหารส่วนตําบลเพื่อให้นายกองค์การบริหารส่วนตําบลแถลงนโยบายต่อสภาองค์การบริหารส่วนตําบล โดยไม่มีการลงมติ ทั้งนี้ภายในสามสิบวันนับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตําบลกรณี ที่ไม่มีผู้ดํารงตําแหน่งประธานสภาองค์การบริหารส่วนตําบลและรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตําบลหรือสภาองค์การบริหารส่วนตําบลถูกยุบตามมาตรา ๕๓ หากมีกรณีที่สําคัญและจําเป็นเร่งด่วนซึ่งปล่อยให้เนิ่นช้า ไป จะกระทบต่อประโยชน์สําคัญของราชการหรือราษฎร นายกองค์การบริหารส่วนตําบลจะดําเนินการไปพลางก่อนเท่าที่จําเป็นก็ได้เมื่อได้มีการเลือกประธานสภาองค์การบริหารส่วนตําบลแล้ว ให้ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตําบลเรียกประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตําบลเพื่อให้นายกองค์การบริหารส่วนตําบลแถลงนโยบายโดยไม่มี การลงมติภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีการเลือกประธานสภาองค์การบริหารส่วนตําบลการประชุมเพื่อแถลงนโยบายของนายกองค์การบริหารส่วนตําบลให้กระทําโดยเปิดเผยโดยนายกองค์การบริหารส่วนตําบลต้องจัดทํานโยบายเป็นลายลักษณ์อักษรแจกให้สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตําบลทุกคนที่มาประชุมด้วยหากนายกองค์การบริหารส่วนตําบลไม่สามารถแถลงนโยบายต่อสภาองค์การบริหารส่วนตําบลได้ ให้นายอําเภอแจ้งให้นายกองค์การบริหารส่วนตําบลจัดทํานโยบายแจ้งเป็นหนังสือส่งให้สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตําบลทุกคนภายในเจ็ดวัน โดยให้นําวิธีการแจ้งคําสั่งทางปกครองเป็นหนังสือตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับโดยอนุโลมในกรณีเช่นนี้ให้ถือว่านายกองค์การบริหารส่วนตําบลได้แถลงนโยบายต่อสภาองค์การบริหารส่วนตําบลแล้วให้นายกองค์การบริหารส่วนตําบลจัดทํารายงานแสดงผลการปฏิบัติงานตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ ต่อสภาองค์การบริหารส่วนตําบลเป็นประจําทุกปี(มาตรา 58/5) (8) นายกองค์การบริหารส่วนตําบล รองนายกองค์การบริหารส่วนตําบล หรือผู้ซึ่งนายกองค์การบริหารส่วนตําบล มอบหมาย มีสิทธิเข้าประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตําบลและมีสิทธิแถลงข้อเท็จจริง ตลอดจนแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับงานในหน้าที่ของตนต่อที่ประชุม แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน (มาตรา 58/6) (9) ให้นายกองค์การบริหารส่วนตําบลควบคุมและรับผิดชอบในการบริหาร ราชการขององค์การบริหารส่วน ตําบลตามกฎหมายและเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานส่วนตําบลและ ลูกจ้างขององค์การบริหารส่วนตําบล อํานาจหน้าที่ในการสั่งหรือการปฏิบัติราชการของรองนายกองค์การบริหารส่วนตําบลให้เป็นไปตามที่นายก องค์การบริหารส่วนตําบล มอบหมาย ในกรณีที่นายกองค์การบริหารส่วนตําบลไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองนายกองค์การบริหารส่วนตําบลตามลําดับที่นายกองค์การบริหารส่วนตําบลแต่งตั้งไว้เป็นผู้รักษาราชการ แทน ถ้าไม่มีรองนายกองค์การบริหารส่วนตําบลหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ปลัดองค์การบริหาร ส่วนตําบลเป็นผู้รักษาราชการแทน ในกรณีที่มีกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคําสั่งใด แต่งตั้ง ให้นายกองค์การบริหารส่วนตําบลเป็นกรรมการหรือให้มีอํานาจหน้าที่อย่างใด ให้ผู้รักษาราชการแทนทําหน้าที่ กรรมการหรือมีอํานาจหน้าที่เช่นเดียวกับนายกองค์การบริหารส่วนตําบลในระหว่างรักษาราชการแทนด้วย (มาตรา 60) (10) อํานาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ หรือการปฏิบัติราชการที่นายกองค์การบริหาร ส่วนตําบลจะพึง ปฏิบัติหรือดําเนินการตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติหรือคําสั่งใด หรือ มติของคณะรัฐมนตรี ในเรื่องใด ถ้ากฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติหรือคําสั่งนั้นหรือมติของ คณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้น ไม่ได้กําหนดในเรื่องการมอบอํานาจไว้เป็นอย่างอื่น นายกองค์การบริหารส่วนตําบลอาจมอบอํานาจโดย ทําเป็นหนังสือให้รองนายกองค์การบริหารส่วนตําบลเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทน นายกองค์การบริหารส่วนตําบล ก็ได้แต่ถ้ามอบให้ปลัดองค์การบริหารส่วนตําบลหรือรองปลัดองค์การบริหารส่วนตําบลปฏิบัติราชการแทน ให้ทําเป็นคําสั่งและประกาศให้ประชาชนทราบ การปฏิบัติราชการแทนนายกองค์การบริหารส่วนตําบล ตามวรรคห้า ต้องกระทําภายใต้การกํากับดูแลและกรอบนโยบายที่นายกองค์การบริหารส่วนตําบลกําหนดไว้ (มาตรา 60) (11) ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตําบล นายกองค์การบริหาร ส่วนตําบล รองนายกองค์การบริหารส่วนตําบล ปลัดองค์การบริหารส่วนตําบลและพนักงานส่วนตําบล เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ให้นายกองค์การบริหารส่วนตําบล รองนายกองค์การบริหารส่วน ตําบล ปลัดองค์การ บริหารส่วนตําบลและพนักงานส่วนตําบล ซึ่งนายกองค์การบริหารส่วนตําบลแต่งตั้ง มีอํานาจเปรียบเทียบคดีละเมิดข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตําบลได้ตามระเบียบและวิธีการ ที่ กระทรวงมหาดไทยกําหนด เมื่อได้ชําระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ มีการเปรียบเทียบ ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (มาตรา 65) (12) งบประมาณรายจ่ายประจําปีและงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมขององค์การ บริหารส่วนตําบลให้จัดทําเป็น ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตําบลและจะเสนอได้ก็แต่โดยนายกองค์การบริหารส่วนตําบลตามระเบียบ และวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกําหนด ถ้าในระหว่างปีงบประมาณใดรายจ่ายซึ่งกําหนดไว้ในงบประมาณ ไม่พอใช้จ่ายประจําปีนั้นหรือมีความจําเป็นต้องตั้งรายจ่ายขึ้นใหม่ระหว่างปีงบประมาณ ให้จัดทําข้อบัญญัติ งบประมาณรายจ่าย เพิ่มเติม เมื่อสภาองค์การบริหารส่วนตําบลเห็นชอบด้วยกับร่างข้อบัญญัติงบประมาณ รายจ่ายประจําปีหรือร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมแล้ว ให้เสนอนายอําเภอเพื่อขออนุมัติ และให้ นายอําเภอพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับร่างข้อบัญญัติดังกล่าว ถ้านายอําเภอไม่อนุมัติ ต้องแจ้งเหตุผลและส่งคืนให้สภาองค์การบริหารส่วนตําบล เพื่อพิจารณาทบทวนร่างข้อบัญญัตินั้นใหม่ หากพ้นกําหนดเวลาดังกล่าวแล้วนายอําเภอพิจารณาไม่แล้วเสร็จ ให้ถือว่านายอําเภออนุมัติร่างข้อบัญญัติ ดังกล่าว นการพิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปีหรือร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม สภาองค์การบริหารส่วนตําบลต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างข้อบัญญัตินั้น เมื่อพ้น กําหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ถ้าสภาองค์การบริหารส่วนตําบลพิจารณาไม่แล้วเสร็จ ให้ถือว่าสภาองค์การบริหารส่วน ตําบลให้ความเห็นชอบตามที่นายกองค์การบริหารส่วนตําบลเสนอและให้ดําเนินการตามวรรคสามต่อไปถ้า ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปีออกไม่ทันปีงบประมาณใหม่ ให้ใช้ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปีในปีงบประมาณที่แล้วไปพลางก่อน ในการพิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปีหรือร่างข้อบัญญัติ งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตําบลจะแปรญัตติเพิ่มเติมรายการหรือจํานวน ในรายการมิได้ แต่อาจแปรญัตติได้ในทางลดหรือตัดทอนรายจ่าย ซึ่งมิได้เป็นรายจ่ายที่เป็นเงินส่งใช้ต้นเงินกู้ ดอกเบี้ยเงินกู้ หรือเงินที่กําหนดให้จ่ายตามกฎหมาย และในการพิจารณาของสภาองค์การบริหารส่วนตําบล การเสนอ การแปรญัตติ หรือการกระทําด้วยประการใดๆ ที่มีผลให้สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตําบลมีส่วน ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยอ้อมในการใช้งบประมาณรายจ่ายจะกระทํามิได้(มาตรา 87) การกํากับดูแลองค์การบริหารส่วนตําบล ให้นายอําเภอมีอํานาจกํากับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตําบลให้เป็นไป ตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของทางราชการ (มาตรา 90) อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล อำนาจหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และ ที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2562 1. มีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (มาตรา 66) 2. ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายองค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังต่อไปนี้ (มาตรา 67) (1) จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก (2) รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะรวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล (3) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ (4) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (5) ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (6) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ (7) คุ้มครองดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม (๘) บํารุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น (๙) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมายโดยจัดสรรงบประมาณหรือบุคลากรให้ตามความ จําเป็นและสมควร 3. ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายองค์การบริหารส่วนตำบลอาจจัดทำกิจกรรมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังต่อไปนี้ (มาตรา 68) (1) ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร (2) ให้มีการบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น (3) ให้มีการบำรุงรักษาทางระบายน้ำ (4) ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุมการกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจ และสวนสาธารณะ (5) ให้มีการส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและกิจการสหกรณ์ (6) ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว (7) บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร (8) การคุ้มครองดูแล และรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน (9) หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบล (10) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม (11) กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์ (12) การท่องเที่ยว (13) การผังเมือง 4. การดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรม หรือองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ ในอันที่จะดำเนินกิจการใด ๆ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในตำบลต้องแจ้งให้ อบต. ทราบล่วงหน้าตามสมควร หาก อบต. มีความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินกิจการดังกล่าว ให้นำความเห็นของ อบต. ไปประกอบการพิจารณาดำเนินกิจการนั้นด้วย(มาตรา 69) 5. การปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของ อบต. ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน โดยใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนา อบต. การจัดทำงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง การตรวจสอบ การประเมินผลการปฏิบัติงาน และการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ทั้งนี้ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการนั้น และหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด(มาตรา 69/1) 6. มีสิทธิได้รับทราบข้อมูลและข่าวสารจากทางราชการในเรื่องที่เกี่ยวกับการดำเนินกิจการ ของทางราชการในตำบล เว้นแต่ข้อมูลหรือข่าวสารที่ทางราชการถือว่าเป็นความลับเกี่ยวกับ การรักษาความมั่นคงแห่งชาติ (มาตรา70) 7. ออกข้อบัญญัติ อบต. เพื่อใช้บังคับในตำบลได้เท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมายหรืออำนาจหน้าที่ของ อบต. ในการนี้จะกำหนดค่าธรรมเนียมที่จะเรียกเก็บและกำหนดโทษปรับผู้ฝ่าฝืนด้วยก็ได้ แต่มิให้กำหนดโทษปรับเกิน 1,000 บาทเว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น (มาตรา 71) 8. อาจขอให้ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้าง ของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นไปดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติกิจการของ อบต. เป็นการชั่วคราวได้โดยไม่ขาดจากต้นสังกัดเดิม (มาตรา 72) 9. อาจทำกิจการนอกเขต อบต. หรือร่วมกับสภาตำบล อบต. อบจ. หรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่นเพื่อกระทำกิจการร่วมกันได้ (มาตรา 73) อำนาจหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพ.ศ. 2542 1. มีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ดังนี้ (มาตรา 16) (1) การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง (2) การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ (3) การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ (4) การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่น ๆ (5) การสาธารณูปการ (6) การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ (7) การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน (8) การส่งเสริมการท่องเที่ยว (9) การจัดการศึกษา (10) การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส (11) การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น (12) การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย (13) การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ (14) การส่งเสริมกีฬา (15) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน (16) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น (17) การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง (18) การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย (19) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล (20) การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน (21) การควบคุมการเลี้ยงสัตว์ (22) การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์ (23) การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่น ๆ (24) การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดินทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม (25) การผังเมือง (26) การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร (27) การดูแลรักษาที่สาธารณะ (28) การควบคุมอาคาร (29) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (30) การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัย ในชีวิต และทรัพย์สิน (31) กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องที่ตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด 2. อำนาจหน้าที่ของ อบต. ตามข้อ 1 ต้องดำเนินการตาม “แผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนและการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น”
พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลฉบับแก้ไขใหม่ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562